วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรรพคุณผักหวานบ้าน

                         
                               

  สรรพคุณ   


  ราก ต้มน้ำดื่มและอาบ แก้ซางตำรายาไทย  ใช้  ใบ รสหวานเย็น ปรุงเป็นยาเขียว แก้ไข้ ใช้น้ำยางหยอดตาแก้ตาอักเสบ รักษาแผลในจมูก  ใบมีสาร papaverine กินมากจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ท้องผูก ใบและต้น มีรสหวานเย็น น้ำยางจากต้นและใบ ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ตำผสมกับรากอบเชยเป็นยาพอก รักษาแผลในจมูก ผสมกับสารหนูใช้ทาแก้โรคผิวหนังติดเชื้อ ใบและราก ตำให้ละเอียดใช้พอกฝี ราก รสเย็น ต้มเป็นยาแก้ไข้ ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน แก้ไข้กลับ แก้ซาง แก้ปัสสาวะขัด ผิดสำแดง รักษาคางทูม แก้ลม มะเร็งคุด สารสกัดใบและลำต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase เล็กน้อย ไม่มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในหนูทดลอง
ยาพื้นบ้านล้านนา  ใช้  ราก ต้มน้ำดื่ม แก้โรคมะเร็งคุด ผสมกับสมุนไพรอื่น ฝนน้ำผสมข้าวเจ้า แก้ผิดเดือน ฝนทารักษาโรคมะเร็ง ที่มีอาการเจ็บ ร้อน ไหม้ ร่วมด้วย ฝนใส่ข้าวเจ้ากินรักษาโรคเลือดลม
ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มูเซอ   ใช้  ใบ  ทั้งต้น ต้มน้ำอาบ และเคี้ยวกินแก้ปวดเมื่อยร่างกาย เป็นยาบำรุงสุขภาพสำหรับหญิงหลังคลอด

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของผักหวานบ้าน






 ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและมีสารต้านมะเร็ง
   ผักหวานบ้าน เป็นผักที่ปลูกง่าย นิยมปลูกไว้กินยอดอ่อนจะแตกยอดได้ดีช่วงหน้าฝน ผักหวานบ้านเป็นต้นไม้พุ่มที่แตกยอดเก่ง พุ่มขนาดกลาง ลำต้นแข็งแรง ผักหวานที่เก็บมาจะกรอบและสดได้ต้องเก็บในช่วงเช้ามืดถึงประมาณ 10 โมง ผักหวานขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ   บำรุงสายตาทำให้มองเห็นในที่มืดเพิ่มความแข็งแรงให้กับภูมิคุ้มกันเอาไว้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อสารพัดชนิด ยอดผักหวานมีทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ไม่ให้กระอ่อนและเปราะ การยืดหดของกล้ามเนื้อก็จะมีประสิทธิภาพสูงสุดตามไปโดยอัตโนมัติ                                                   

คุณค่าทางอาหาร





  ผักหวานบ้าน มีรสชาติกรอบอร่อย มีสารอาหารหลายชนิด ยอดอ่อนและใบอ่อน มีรสหวาน เป็นแหล่งอาหารที่ทรงคุณค่ามากเนื่องจากมีสารที่เป็นประโยชน์ต่ร่างกายอยู่หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นโปรตีน ซึ่งมีอยู่มากกว่าผักหวานหลาย ๆ ชนิด รวมทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ที่ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมพร้อมแมกนีเซียม ที่มีอยู่ในผักใบเขียวอย่างผักหวาน จะช่วยให้การยืดหดของกล้ามเนื้อในร่างกาย มีประสิทธิภาพสูงสุดตามไปด้วย ผู้บริโภคบ่อย ๆ จะไม่เป็นโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ผักหวานสดยังมีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งวิตามินซีเป็นแอนติออกซิเดนท์ ที่ช่วยไม่ให้เนื้อเยื่อหรือเซลล์ภายในร่างกาย ถูกทำลายจากมลพิษทางอากาศ และรังสีจากแสงแดด ที่ทำให้เกิดมะเร็งหรือแก่ก่อนวัย รวมทั้งผิวหนังเหี่ยวย่นด้วย ที่สำคัญผักหวานยังมีเบต้า-แคโรทีน ที่มีอยู่ในผักใบเขียวทั่ว ๆ ไป เบต้า-แคโรทีน จัดเป็นแอนติออกซิเดนท์ตัวหนึ่งและเมื่อถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอแล้ว จะช่วยบำรุงสายตาให้สามารถเห็นได้ดีในที่มืดและยังเพิ่มความแข็งแรง ให้ภูมิคุ้มกันเอาไว้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อสารพัดชนิด

การเก็บเกี่ยวผักหวานบ้าน







    การเก็บเกี่ยวผักหวานบ้านหลังจากที่ต้นผักหวานบ้านเริ่มตั้งตัวได้ ให้ทำการตัดแต่งยอด เพื่อให้ผักหวานบ้านออกพุ่มใหม่ เมื่อปลูกได้ประมาณ 2 เดือนก็จะสามารถเก็บยอดได้ ในการเก็บยอดนั้นควรเก็บในเวลาเช้า ซึ่งจะได้ยอดที่ขาวอวบอ้วนน่ารับประทาน หลังจากเก็บยอดมาแล้วถ้ายังไม่ได้นำไปขายทันทีให้ใช้ผ้าชุบน้ำคลุมตะกร้าผักหวานบ้านที่เก็บมาเอาไว้ เพื่อรักษาความชื้น ลดการคายน้ำของยอด ทำให้ยอดไม่เหี่ยว

การดูแลรักษา




    การดูแลต้นผักหวานบ้าน ให้สามารถเก็บยอดได้นานๆ จะต้องใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง หรืออาจใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย ในช่วงที่อากาศร้อนมาก หรือเป็นช่วงฤดูแล้งจะต้องรดน้ำต้นผักหวานบ้าน 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน เย็น เมื่อต้นผักหวานบ้านโตเกินไปก็ให้ตัดแต่งกิ่งใหม่  และใส่ปุ๋ยก็จะทำให้ต้นผักหวานสามารถออกยอดได้เหมือนเดิม
     การให้น้ำ ผักหวานเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยมาก ในธรรมชาติผักหวานมีเปลือกลำต้นและเปลือกรากหนามาก มีรูพรุนเก็บกับน้ำได้ดีมาก 
    ผักหวานจะเก็บน้ำในฤดูฝนไว้ได้ และจะเก็บรักษาน้ำไว้ในการแตกยอด และออกดอกพร้อม ๆ กันในฤดูแล้ง แต่ผักหวานที่ปลูกเป็นสวนสามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ถ้าสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ว การให้ปุ๋ย  หากผักหวานต้นใหญ่แล้วสามารถให้
    ปุ๋ยพรวนดินให้น้ำได้เพื่อเพิ่มผลผลิต ปุ๋ยที่ให้ผักหวานควรมีอัตราส่วน 2 : 1 : 1 หรือ 3 : 1 : 1 เพราะผักหวานใช้ยอดและ
    ใบอ่อนเป็นผลผลิต การให้ปุ๋ยควรให้ในช่วงเร่งการเจริญเติบโต และสามารถละลายน้ำให้ได้เรื่อย ๆ โดยให้แต่น้อยแต่บ่อยครั้ง 

ลักษณะของผักหวานบ้าน



    
       
    ผักหวานบ้านเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก สูงระหว่าง ๑-๓ เมตร ลำต้นอ่อน ผิวเกลี้ยง มีกิ่งแขนง แตกออกขนานกับพื้นลักษณะคล้ายก้านของใบมะยม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันบนกิ่ง ใบรูปไข่หรือใบหอก ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลมหรือมน ผิวใบสีเขียวเกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบสั้น หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกออกตามง่ามใบ เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกคล้ายจาน กว้าง ๕-๑๒ มิลลิเมตร กลีบดอกเหลืองหรือแดง มี ๖ กลีบ ผลรูปกลมแป้น ผิวสีขาวอมชมพู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕-๑.๘ เซนติเมตร เมื่อแก่จัดแตกออกเป็น ๓ ส่วน แต่ละส่วนมีเมล็ดสีดำอยู่ ๑ เมล็ด กลีบรองผลสีแดงเข้ม ถิ่นกำเนิดของผักหวานป่ามีพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา มาตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปถึงตอนใต้ของประเทศจีน จึงนับได้ว่าผักหวานบ้านเป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมชนิดหนึ่งของไทย พบขึ้นอยู่ทั้งในสภาพธรรมชาติ และในไร่นาสวนของเกษตรกร นับเป็นผักยอดนิยมที่คนไทยในอดีตชอบปลูกไว้บริโภคอย่างแพร่หลายชนิดหนึ่ง ชื่อที่เรียกในประเทศไทย คือ ผักหวานบ้าน(ภาคกลาง) ผักก้านตง จ๊าผักหวาน(ภาคเหนือ) ผักหวานใต้ใบ(สตูล) มะยมป่า(ประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเพาะเมล็ดผักหวานบ้าน







การเพาะเมล็ดผักหวานบ้านมีขั้นตอนดังนี้

     1.เริ่มจากนำผลผักหวานป่าที่สุกสมบูรณ์

     2.นำมาปล่อยทิ้งไว้ในภาชนะที่ระบายอากาศได้ดีเพื่อให้เน่าจะสะดวกในการเอาเปลือกและเนื้อออก
   

     3.เอาเนื้อและเปลือกออกโดยการเยียบ(ใช้วิธีอื่นก็ได้ตามสะดวก)แต่ต้องไม่ลงน้ำหนักมากจะทำให้เมล็ดผักหวานป่าช้ำและเกิดความเสียหายได้ซึ่งจะมีผลต่อการงอกด้วยครับ

     4.ล้างน้ำให้เนื้อออกให้หมดจนสะอาด
    
     5.นำเมล็ดที่ล้างสะอาดแล้วมาตาก-ลมบนกระสอบป่านไว้ในที่ร่มประมาณ2-3 วัน ห้ามตากแดดเป็นอันขาดครับ เกลี่ยให้เสมอกันถ้ามีจำนวนมากใช้ซ้อนกันได้ไม่เกิน 3 ชั้น


     6.นำเมล็ดผักหวานป่าที่ตาก-ลมมาหมกกระสอบคือนำกระสอบป่านอีกใบมาปูทับเมล็ดลงไปแล้วรดน้ำให้ชุมเช้าเย็น หรือจะใช้วิธีอื่นก็ได้เช่น เพาะในกระบะทราย เป็นต้น ประมาณ 7- 10 จะเริ่มมีรากงอกออกมา
     
    7.เตรียมถุงสำหรับเพาะเมล็ดขนาด 4x6 นิ้ว หรือตามต้องการ ใส่ดินผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้เต็มถุง

     8.นำเมล็ดผักหวานป่าที่รากงอกแล้วลงเพาะในถุง ต้องระวังอย่าให้รากหักและให้ฝังลงไปแค่ครึ่งเมล็ดเท่านั้นครับ เพื่อจะได้เห็นเมล็ดจะง่ายต่อการสังเกตุดูว่าเมล็ดเน่าหรือไม่
  

     9.ประมาณ 1 เดือนแรก เราจะไม่สังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลงจากด้านบนของถุงเพาะชำแต่เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของผักหวานป่า คือกำลังแทงรากลงไปในถุง ต้องรดน้ำวันละครั้ง ระวังอย่าให้แฉะ
  

    10.ด้านบนเรามองไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นแต่ด้านล่างผักหวานป่ากำลังออกราก ต้องใจเย็นๆนะครับเพราะเราจะเริ่มเห็นยอดของต้นผักหวานป่าก็ประมาณเดือนที่ 2 ครับ ประมาณ 4 เดือน เราก็จะได้ต้นกล้าผักหวานป่าที่แข็งแรง พร้อมนำไปลงแปลงปลูกได้

ประวัติผักหวานบ้าน




               

                                       


      ผักหวานบ้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sauropus androgynus) เป็นผักพื้นเมืองที่เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง

ชนิดหนึ่งถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญตัวหนึ่ง เนื่องจากเป็นผักที่มีรสชาติอร่อยและปลูกง่ายจึงเป็นที่

นิยมของตลาด ลักษณะของใบผักหวานบ้านนั้นมีส่วนที่คล้ายใบมะยม แต่ว่าแตกต่างจากใบมะยมตรงที่

มันจะมีนวลสีขาวๆ บนหน้าใบ มันเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก




วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรรพคุณ





        ส่วนของลำต้นจะใช้แก่นผักหวานต้มรับประทานน้ำเป็นยาแก้ปวดตามข้อหรือปานดงหรือจะใช้ต้น 
ผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดบุตร รากต้มรับประทานน้ำเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนใน
แก้น้ำดีพิการและแก้ปากมดลูก

    ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ลำต้น ใช้ประโยชน์ในทางเป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่ง ยอดอ่อน ดอกอ่อน และ ผลอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด ส่วน ผลสุกนำมาต้มให้สุกและรับประทานเนื้อข้างใน

ประโยชน์ของผักหวานป่า



ผักหวานป่าเป็นเครื่องยาไทยจำพวกผักจะใช้ส่วนรากมาทำยา รากมีรสเย็นสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ ดีพิการ แก้เชื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ  แก้กระสับกระส่าย   พบว่าผักหวานป่าจัดเป็นทั้งอาหารและยาประจำฤดูร้อนแก้อาการของธาตุไฟได้ตามแพทย์แผนไทย 

    ส่วนยอดก็นิยมนำมาปรุงอาหารมีรสหวานกรอบช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำและระบายความร้อนหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียวเพื่อลดไข้   ลดความร้อน ปัจจุบันพบว่ามีการนำมาพัฒนาเป็นชาผักหวานป่าทำเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ

คุณค่าทางอาหาร



                                                                                                                                                       
ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่งโดยเฉพาะอย่ายิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควรช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม  แคโรทีน 1.6 มก. วิตามินซี 115 มก. และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ) อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมา เป็นไข้ และอาเจียนได้ การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้วอาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้เช่นกัน

ช่วงเวลาผักหวานป่าออกดอก






       ผักหวานป่าในป่าเกือบทุกชนิดผักหวานป่าจะออกดอกประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม และออกผล
ประมาณเดือนกมุภาพันธ์ผลแก่และสุกในเดือนเมษายน-  พฤษภาคม ผักหวานป่าเป็นพืชที่แยกเพศ
ชัดเจนมีทั้งที่เป็นต้นเพศผู้และเพศเมีย โดยมีดอกตัวผู้และดอก ตัวเมียอยู่คนละต้น (dioecious)การผสม
เกสรอาศัยแมลงตามธรรมชาติ ส่วนการกระจายเมล็ดพันธุ์อาศัยสัตว์ป่าเป็นผู้นำพา และน้ำยังเป็นตัวนำ
พาได้ดีเมื่อผลสุกร่วงหล่นลงจะถูกน้ำพัดพาไปในที่ต่างๆ เมื่อเมล็ดเจอที่ที่มีความเหมาะก็จะงอกและ
เจริญเติบโตต่อไป

การดูแลรักษาผักหวานป่า



      ในช่วงต้นฤดูฝน ผักหวานป่าจะได้น้ำจากน้ำฝนธรรมชาติที่ตกลงมา แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องมีการให้น้ำช่วยในช่วงแรกของการปลูกใหม่ หรือในหน้าแล้งโดยให้น้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง พอให้ดินชื้นอย่าให้ดินแฉะ ผักหวานป่าไม่ชอบน้ำมากนัก ในแปลงศึกษาทดสอบของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) จะมีการให้น้ำโดยระบบน้ำหยด
       หลังปลูกผักหวานป่าได้ 3-4 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 10-15 กรัม/ต้น ห่างโคนต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร โรยทับด้วยปุ๋ยคอกแล้วกลบดิน ในแปลงศึกษาทดสอบการปลูกผักหวานป่าของศูนย์ฯ ในช่วงปีแรกจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอก 4 เดือน/ครั้ง เพิ่มปริมาณปุ๋ยตามขนาดของต้นผักหวานป่า 
        เมื่อขึ้นสู่ปีที่สองจะใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง คือช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน และปลายฤดูฝน ประมาณเดือน กันยายน-ตุลาคม โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ต้น โรยทับด้วยปุ๋ยคอก 1-3 บุ้งกี๋/ต้น ในช่วงนี้ต้นผักหวานป่าที่สมบูรณ์จะมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

แหล่งที่พบ






       ผักหวานป่าเป็นพืชที่ไม่ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำมาก ชอบที่โล่ง ดินร่วนปนทราย พบมาก

ตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณที่สูง เชิงเขา ป่าเชิงเขาหรือป่าโปร่ง แหล่งผลิตเป็นการ

ค้า ได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ และสกลนคร







ลักษณะของผักหวานป่า


     
        
       ไม้พุ่มยืนต้นสูง ๕-๑๐ เมตร อายุหลายปี กิ่งและลำต้นมีใบประดับขนาดเล็ก ลำต้นสี

น้ำตาลอ่อนผิวขรุขระ ใบเป็นรูปไข่หรือรูปรี สีเขียวเข้มเนื้อใบกรอบ ปลายใบมน ขอบใบเรียบ 

ปลายใบแหลม ฐานใบเป็นรูปลิ่มก้านใบสั้น ช่อดอกเกิดตามกิ่งแก่หรือตามลำต้นที่ใบร่วงไป

แล้วแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือดอกลำไย ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่น

เป็นกระจุก ผลเป็นผลเดี่ยวติดกันเป็นพวงผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีเหลืองอมส้ม ลักษณะผล

กลมรี เมล็ดลักษณะคล้ายพุทรา





วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการเพาะปลูก







 เมล็ดผักหวานป่าจะสุกประมาณ เดือน เม.ย.- พ.ค. ซึ่งมีวิธีการเพาะเมล็ดดังนี้

            1. เลือกผลแก่สุก โดยปล่อยให้สุกงอมเพื่อสะดวกในการแยกเปลือกและเนื้อออกจากเมล็ด
            2. แยกเปลือกและเนื้อหุ้มเมล็ด โดยขัดล้างในการภาชนะที่มีผิวหยาบ  เช่น ตะแกรง กระด้ง หรือเข่ง ไม้ไผ่  ควรใส่ถุงมือ
        เนื่องจากเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง
            3. นำเมล็ดที่ขัดสะอาดแล้วแช่น้ำแยกเมล็ดที่สมบูรณ์ไว้เพาะเมล็ดที่สมบูรณ์จะจมน้ำส่วนเมล็ดที่ลอยน้ำควรแยกทิ้ง
            4. นำเมล็ดที่จมน้ำขึ้นผึ่งพอสะเด็ดน้ำ คลุกด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา ในขั้นตอนนี้อาจเก็บเมล็ดโดยห่อกระดาษหนังสือพิมพ์
        ใส่ถุงพลาสติกเจาะรูระบายอากาศ แช่ตู้เย็นในช่องแช่ผักไว้ประมาณ 1 เดือน เปอร์เซ็นต์ความงอกอาจจะลดลงเล็กน้อยหรือจะทำ
        การบ่มเพาะเลย ก็จะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง วิธีการบ่มเพาะเมล็ดผักหวานป่าเพื่อกระตุ้นให้เกิดการงอก มี 3 วิธีดังนี้        
                 4.1 นำเมล็ดมาบ่มเพาะโดยเกลี่ยเมล็ดบนกระด้งหรือตะแกรงหนาไม่เกิน 1 นิ้ว คลุมด้วยกระสอบป่านชุบน้ำหมาดๆ เก็บไว้
        ในที่ร่ม 2-3 วัน เปลือกจะเริ่มแตกปริ เมื่อมีรากงอกออกมาจึงนำไปเพาะลงถุงต่อหรือนำไปปลูกแปลงที่เตรียมดินไว้แล้ว
                 4.2 นำเมล็ดมาบ่มเพาะในแกลบดำ  โดยนำแกลบดำใส่ภาชนะหรือกระบะเพาะแล้วโรยเมล็ดผักหวานลงบนแกลบดำ เกลี่ย
        เมล็ดอย่าให้ทับซ้อนกัน  โรยแกลบดำกลบหนาประมาณ 1-2 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม 4-5 วัน  คุ้ยดูจะเห็นเปลือกเริ่มแตกปริ  อีกประมาณ
        5 วัน จะเห็นรากงอกออกมานำไปเพาะในถุงต่ออีกประมาณ 2 เดือน จึงจะทยอยแทงยอด หรือจะนำเมล็ดลงปลูกในแปลงเลยก็ได้        
                 4.3 นำเมล็ดมาบ่มเพาะในทราย โดยนำทรายใส่ภาชนะหรือกระบะเพาะ แล้วโรยเมล็ดผักหวานป่าลงบนทรายใช้ฟางคลุมรด
        น้ำให้ชุ่ม ระยะเวลาการแตกปริของเปลือก และการงอกของเมล็ดจะคล้ายกับการบ่มเพาะในแกลบดำ