วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรรพคุณผักหวานบ้าน

                         
                               

  สรรพคุณ   


  ราก ต้มน้ำดื่มและอาบ แก้ซางตำรายาไทย  ใช้  ใบ รสหวานเย็น ปรุงเป็นยาเขียว แก้ไข้ ใช้น้ำยางหยอดตาแก้ตาอักเสบ รักษาแผลในจมูก  ใบมีสาร papaverine กินมากจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ท้องผูก ใบและต้น มีรสหวานเย็น น้ำยางจากต้นและใบ ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ตำผสมกับรากอบเชยเป็นยาพอก รักษาแผลในจมูก ผสมกับสารหนูใช้ทาแก้โรคผิวหนังติดเชื้อ ใบและราก ตำให้ละเอียดใช้พอกฝี ราก รสเย็น ต้มเป็นยาแก้ไข้ ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน แก้ไข้กลับ แก้ซาง แก้ปัสสาวะขัด ผิดสำแดง รักษาคางทูม แก้ลม มะเร็งคุด สารสกัดใบและลำต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase เล็กน้อย ไม่มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งในหนูทดลอง
ยาพื้นบ้านล้านนา  ใช้  ราก ต้มน้ำดื่ม แก้โรคมะเร็งคุด ผสมกับสมุนไพรอื่น ฝนน้ำผสมข้าวเจ้า แก้ผิดเดือน ฝนทารักษาโรคมะเร็ง ที่มีอาการเจ็บ ร้อน ไหม้ ร่วมด้วย ฝนใส่ข้าวเจ้ากินรักษาโรคเลือดลม
ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มูเซอ   ใช้  ใบ  ทั้งต้น ต้มน้ำอาบ และเคี้ยวกินแก้ปวดเมื่อยร่างกาย เป็นยาบำรุงสุขภาพสำหรับหญิงหลังคลอด

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของผักหวานบ้าน






 ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและมีสารต้านมะเร็ง
   ผักหวานบ้าน เป็นผักที่ปลูกง่าย นิยมปลูกไว้กินยอดอ่อนจะแตกยอดได้ดีช่วงหน้าฝน ผักหวานบ้านเป็นต้นไม้พุ่มที่แตกยอดเก่ง พุ่มขนาดกลาง ลำต้นแข็งแรง ผักหวานที่เก็บมาจะกรอบและสดได้ต้องเก็บในช่วงเช้ามืดถึงประมาณ 10 โมง ผักหวานขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ   บำรุงสายตาทำให้มองเห็นในที่มืดเพิ่มความแข็งแรงให้กับภูมิคุ้มกันเอาไว้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อสารพัดชนิด ยอดผักหวานมีทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ไม่ให้กระอ่อนและเปราะ การยืดหดของกล้ามเนื้อก็จะมีประสิทธิภาพสูงสุดตามไปโดยอัตโนมัติ                                                   

คุณค่าทางอาหาร





  ผักหวานบ้าน มีรสชาติกรอบอร่อย มีสารอาหารหลายชนิด ยอดอ่อนและใบอ่อน มีรสหวาน เป็นแหล่งอาหารที่ทรงคุณค่ามากเนื่องจากมีสารที่เป็นประโยชน์ต่ร่างกายอยู่หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นโปรตีน ซึ่งมีอยู่มากกว่าผักหวานหลาย ๆ ชนิด รวมทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ที่ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมพร้อมแมกนีเซียม ที่มีอยู่ในผักใบเขียวอย่างผักหวาน จะช่วยให้การยืดหดของกล้ามเนื้อในร่างกาย มีประสิทธิภาพสูงสุดตามไปด้วย ผู้บริโภคบ่อย ๆ จะไม่เป็นโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้ผักหวานสดยังมีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งวิตามินซีเป็นแอนติออกซิเดนท์ ที่ช่วยไม่ให้เนื้อเยื่อหรือเซลล์ภายในร่างกาย ถูกทำลายจากมลพิษทางอากาศ และรังสีจากแสงแดด ที่ทำให้เกิดมะเร็งหรือแก่ก่อนวัย รวมทั้งผิวหนังเหี่ยวย่นด้วย ที่สำคัญผักหวานยังมีเบต้า-แคโรทีน ที่มีอยู่ในผักใบเขียวทั่ว ๆ ไป เบต้า-แคโรทีน จัดเป็นแอนติออกซิเดนท์ตัวหนึ่งและเมื่อถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอแล้ว จะช่วยบำรุงสายตาให้สามารถเห็นได้ดีในที่มืดและยังเพิ่มความแข็งแรง ให้ภูมิคุ้มกันเอาไว้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อสารพัดชนิด

การเก็บเกี่ยวผักหวานบ้าน







    การเก็บเกี่ยวผักหวานบ้านหลังจากที่ต้นผักหวานบ้านเริ่มตั้งตัวได้ ให้ทำการตัดแต่งยอด เพื่อให้ผักหวานบ้านออกพุ่มใหม่ เมื่อปลูกได้ประมาณ 2 เดือนก็จะสามารถเก็บยอดได้ ในการเก็บยอดนั้นควรเก็บในเวลาเช้า ซึ่งจะได้ยอดที่ขาวอวบอ้วนน่ารับประทาน หลังจากเก็บยอดมาแล้วถ้ายังไม่ได้นำไปขายทันทีให้ใช้ผ้าชุบน้ำคลุมตะกร้าผักหวานบ้านที่เก็บมาเอาไว้ เพื่อรักษาความชื้น ลดการคายน้ำของยอด ทำให้ยอดไม่เหี่ยว

การดูแลรักษา




    การดูแลต้นผักหวานบ้าน ให้สามารถเก็บยอดได้นานๆ จะต้องใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง หรืออาจใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย ในช่วงที่อากาศร้อนมาก หรือเป็นช่วงฤดูแล้งจะต้องรดน้ำต้นผักหวานบ้าน 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน เย็น เมื่อต้นผักหวานบ้านโตเกินไปก็ให้ตัดแต่งกิ่งใหม่  และใส่ปุ๋ยก็จะทำให้ต้นผักหวานสามารถออกยอดได้เหมือนเดิม
     การให้น้ำ ผักหวานเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยมาก ในธรรมชาติผักหวานมีเปลือกลำต้นและเปลือกรากหนามาก มีรูพรุนเก็บกับน้ำได้ดีมาก 
    ผักหวานจะเก็บน้ำในฤดูฝนไว้ได้ และจะเก็บรักษาน้ำไว้ในการแตกยอด และออกดอกพร้อม ๆ กันในฤดูแล้ง แต่ผักหวานที่ปลูกเป็นสวนสามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ถ้าสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ว การให้ปุ๋ย  หากผักหวานต้นใหญ่แล้วสามารถให้
    ปุ๋ยพรวนดินให้น้ำได้เพื่อเพิ่มผลผลิต ปุ๋ยที่ให้ผักหวานควรมีอัตราส่วน 2 : 1 : 1 หรือ 3 : 1 : 1 เพราะผักหวานใช้ยอดและ
    ใบอ่อนเป็นผลผลิต การให้ปุ๋ยควรให้ในช่วงเร่งการเจริญเติบโต และสามารถละลายน้ำให้ได้เรื่อย ๆ โดยให้แต่น้อยแต่บ่อยครั้ง 

ลักษณะของผักหวานบ้าน



    
       
    ผักหวานบ้านเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก สูงระหว่าง ๑-๓ เมตร ลำต้นอ่อน ผิวเกลี้ยง มีกิ่งแขนง แตกออกขนานกับพื้นลักษณะคล้ายก้านของใบมะยม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันบนกิ่ง ใบรูปไข่หรือใบหอก ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลมหรือมน ผิวใบสีเขียวเกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบสั้น หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกออกตามง่ามใบ เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกคล้ายจาน กว้าง ๕-๑๒ มิลลิเมตร กลีบดอกเหลืองหรือแดง มี ๖ กลีบ ผลรูปกลมแป้น ผิวสีขาวอมชมพู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕-๑.๘ เซนติเมตร เมื่อแก่จัดแตกออกเป็น ๓ ส่วน แต่ละส่วนมีเมล็ดสีดำอยู่ ๑ เมล็ด กลีบรองผลสีแดงเข้ม ถิ่นกำเนิดของผักหวานป่ามีพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา มาตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปถึงตอนใต้ของประเทศจีน จึงนับได้ว่าผักหวานบ้านเป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมชนิดหนึ่งของไทย พบขึ้นอยู่ทั้งในสภาพธรรมชาติ และในไร่นาสวนของเกษตรกร นับเป็นผักยอดนิยมที่คนไทยในอดีตชอบปลูกไว้บริโภคอย่างแพร่หลายชนิดหนึ่ง ชื่อที่เรียกในประเทศไทย คือ ผักหวานบ้าน(ภาคกลาง) ผักก้านตง จ๊าผักหวาน(ภาคเหนือ) ผักหวานใต้ใบ(สตูล) มะยมป่า(ประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเพาะเมล็ดผักหวานบ้าน







การเพาะเมล็ดผักหวานบ้านมีขั้นตอนดังนี้

     1.เริ่มจากนำผลผักหวานป่าที่สุกสมบูรณ์

     2.นำมาปล่อยทิ้งไว้ในภาชนะที่ระบายอากาศได้ดีเพื่อให้เน่าจะสะดวกในการเอาเปลือกและเนื้อออก
   

     3.เอาเนื้อและเปลือกออกโดยการเยียบ(ใช้วิธีอื่นก็ได้ตามสะดวก)แต่ต้องไม่ลงน้ำหนักมากจะทำให้เมล็ดผักหวานป่าช้ำและเกิดความเสียหายได้ซึ่งจะมีผลต่อการงอกด้วยครับ

     4.ล้างน้ำให้เนื้อออกให้หมดจนสะอาด
    
     5.นำเมล็ดที่ล้างสะอาดแล้วมาตาก-ลมบนกระสอบป่านไว้ในที่ร่มประมาณ2-3 วัน ห้ามตากแดดเป็นอันขาดครับ เกลี่ยให้เสมอกันถ้ามีจำนวนมากใช้ซ้อนกันได้ไม่เกิน 3 ชั้น


     6.นำเมล็ดผักหวานป่าที่ตาก-ลมมาหมกกระสอบคือนำกระสอบป่านอีกใบมาปูทับเมล็ดลงไปแล้วรดน้ำให้ชุมเช้าเย็น หรือจะใช้วิธีอื่นก็ได้เช่น เพาะในกระบะทราย เป็นต้น ประมาณ 7- 10 จะเริ่มมีรากงอกออกมา
     
    7.เตรียมถุงสำหรับเพาะเมล็ดขนาด 4x6 นิ้ว หรือตามต้องการ ใส่ดินผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้เต็มถุง

     8.นำเมล็ดผักหวานป่าที่รากงอกแล้วลงเพาะในถุง ต้องระวังอย่าให้รากหักและให้ฝังลงไปแค่ครึ่งเมล็ดเท่านั้นครับ เพื่อจะได้เห็นเมล็ดจะง่ายต่อการสังเกตุดูว่าเมล็ดเน่าหรือไม่
  

     9.ประมาณ 1 เดือนแรก เราจะไม่สังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลงจากด้านบนของถุงเพาะชำแต่เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของผักหวานป่า คือกำลังแทงรากลงไปในถุง ต้องรดน้ำวันละครั้ง ระวังอย่าให้แฉะ
  

    10.ด้านบนเรามองไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นแต่ด้านล่างผักหวานป่ากำลังออกราก ต้องใจเย็นๆนะครับเพราะเราจะเริ่มเห็นยอดของต้นผักหวานป่าก็ประมาณเดือนที่ 2 ครับ ประมาณ 4 เดือน เราก็จะได้ต้นกล้าผักหวานป่าที่แข็งแรง พร้อมนำไปลงแปลงปลูกได้